หน้ารายละเอียด
Call number IS000010
Title ประสิทธิภาพการผลิตยางพาราปีการผลิต 2546 : กรณีศึกษาอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
Creator ยิ่งยง สิริรตวรรณ
Subject 1 ยางพารา การผลิต ไทย ยะลา
Subject 2 ประสิทธิภาพ การผลิต
Subject 3
Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อศึกษาผลตอบแทนและต้นทุนและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM 600 ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ปีการผลิต2546 โดยเป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านมาลา จำกัดและกลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์และนำผลการศึกษาทั้งสองกลุ่มมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของสถาบันวิจัยยาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจและให้ข้อเสนอแนะปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยางพารา ผลการศึกษาพบว่าการผลิตน้ำยางสดของเกษตรกรในเขตอำเภอเบตงมีต้นทุนการผลิตทั้งหมดเฉลี่ย กิโลกรัมละ 18.22 บาทหรือไร่ละ 4,426.41 บาทคิดเป็นร้อยละ 48.03 ของรายได้จากการขายน้ำยางสด ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยไร่ละ 4,789.04 บาทและกำไรเฉลี่ยต่อกิโลกรัมเท่ากับ 19.71 บาท เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านมาลา จำกัดและกลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์แล้วปรากฏว่ากลุ่มแรกมีต้นทุนการผลิตทั้งหมดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.71 บาทหรือไร่ละ 3,921.60 บาทคิดเป็นร้อยละ 51.96 ของรายได้จากการขายน้ำยางสดในขณะที่กลุ่มหลังมีต้นทุนการผลิตทั้งหมดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.82 บาทหรือไร่ละ 4,599..66 บาทคิดเป็นร้อยละ46.99 ของรายได้จากการขายน้ำยางสด ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อไร่ รวมทั้งกำไรเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของกลุ่มแรกเท่ากับ 3,625.92 บาท และ 18.22 บาทตามลำดับซึ่งน้อยกว่ากลุ่มหลังที่มีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีรวมทั้งกำไรเฉลี่ยต่อกิโลกรัมเท่ากับ 5,188.37 บาทและ 20.11 บาท ตามลำดับผลการศึกษาประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตพบว่า ปัจจัยการผลิตที่สำคัญของทั้งสองกลุ่มได้แก่ พันธุ์ยาง และอายุต้นยางซึ่งไม่มีความแตกต่างกัน โดยที่ปัจจัยการผลิตดังกล่าวก่อให้เกิดปริมาณผลผลิตน้ำยางสดในเขตอำเภอเบตงเฉลี่ยไร่ละ 694.17 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองกลุ่มจะพบว่า กลุ่มแรกได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่568.53 กิโลกรัมซึ่งน้อยกว่ากลุ่มหลังที่ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 737.30 กิโลกรัม ผลแตกต่างดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยการผลิตการใช้ปุ๋ยที่น้อยมากกล่าวคือ กลุ่มแรกมีสมาชิกที่ใช้ปุ๋ยจำนวน 1 รายจากจำนวนทั้ง 27 รายและกลุ่มหลังมีสมาชิกที่ใช้ปุ๋ยจำนวน 3 รายจากจำนวนทั้งหมด 33 ราย นอกจากนี้ยังเป็นผลให้ผลผลิตน้ำยางสดเฉลี่ยต่อไร่ของทั้งสองกลุ่มดังกล่าวต่ำกว่าผลผลิตจากการวิจัยของสถาบันวิจัยยางซึ่งได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ825.71 กิโลกรัม ผลแตกต่างดังกล่าวน่าจะมาจากการไม่ใช้ปุ๋ย ดังนั้นจึงควรที่จะได้มีการศึกษาเพิ่มเติม
Faculty คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา
Major เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
Contributor พิษณุวัฒน์ ทวีวัฒน์
Year 2548
Type การศึกษาค้นคว้าอิสระ
Format PDF
Language Thai
Electronic Link ดาวน์โหลดแบบ Full text