หน้ารายละเอียด |
Call number |
IS000006 |
Title |
การประเมินผลการดำเนินงานและความพึงพอใจในบริการโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน กรณีศึกษา: จังหวัดชลบุรี |
Creator |
นิยะดา อนุตรชัยสิริ
|
Subject 1 |
ความพอใจ |
Subject 2 |
ธนาคารออมสิน ความพอใจของผู้ใช้บริการ ไทย ชลบุรี |
Subject 3 |
|
Abstract |
วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้คือ 1. เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป ความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงาน และเงื่อนไขในการให้สินเชื่อ 2. เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการธนาคารประชาชนในเขตจังหวัดชลบุรี 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการกู้ยืม
ต่างๆ และการให้บริการ การวัดระดับความสำเร็จของโครงการธนาคารประชาชนใช้เกณฑ์ประสิทธิผล โดย
กำหนดค่าเฉลี่ยแบบจัดแบ่งช่วงคะแนน 3 ระดับ คือ 0.00-0.66 หมายความว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำ
0.67-1.33 หมายความว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง และ 1.34-2.00 หมายความว่า ผลการประเมิน
อยู่ในระดับสูง
ผลการศึกษา พบว่า โครงการธนาคารประชาชนโดยรวมสามารถบรรลุประสิทธิผลในระดับสูงตาม
เกณฑ์ประสิทธิผล โดยพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของโครงการธนาคารประชาชนทั้ง 4 ด้าน คือ เพื่อส่งเสริมให้
ประชาชนมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการออมทรัพย์เพิ่ม เพื่อส่งเสริมการพัฒนา
อาชีพให้สมาชิกมีงานทำ และเพื่อเป็นแหล่งทุนให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 1.76 แสดงว่า
วัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง 4 ด้านสามารถบรรลุประสิทธิผลในระดับสูงตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ด้านความพึงพอใจในการให้บริการโครงการธนาคารประชาชนในด้านต่างๆ 12 ด้าน โดยกำหนดค่า
เฉลี่ยแบบจัดแบ่งช่วงคะแนน 3 ระดับ คือ 1.00-2.33 หมายความว่า มีความพึงพอใจน้อย 2.34-3.66
หมายความว่า มีความพึงพอใจปานกลาง และ 3.67-5.00 หมายความว่า มีความพึงพอใจมาก ผลการศึกษาพบว่า ในส่วนของความพึงพอใจของสมาชิกโครงการธนาคารประชาชนในลักษณะค่าเฉลี่ยเป็นรายบุคคล พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากต่อโครงการธนาคารประชาชน คิดเป็นร้อยละ 58.2 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการบริการของโครงการธนาคารประชาชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 แสดงว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อโครงการธนาคารประชาชนมาก ส่วนปัญหาอุปสรรคที่สมาชิกกลุ่มตัวอย่างประสบจากการดำเนินงาน คือ เรื่องวงเงินสินเชื่อน้อยเกินไป และเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ธนาคารควรแก้ไขหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อ ควรลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โครงการประชาชนให้ต่ำลง ขยายวงเงินให้กู้ให้สูงขึ้น และให้ความยืดหยุ่นในเรื่องคุณสมบัติผู้กู้ |
Faculty |
คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา |
Major |
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
Contributor |
บรรลุ พุฒิกร
|
Year |
2548 |
Type |
การศึกษาค้นคว้าอิสระ |
Format |
PDF |
Language |
Thai |
Electronic Link |
ดาวน์โหลดแบบ Full text |